Mid-Century Modern เป็นสไตล์บ้านที่เกิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นงานดีไซน์ที่ถูกพัฒนา จากความขาดแคลนทรัพยากรช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีลักษณะเด่น เช่น การก่อสร้างโชว์เสากับคานบ้าน มีผนังกระจกเชื่อมต่อกัน และภายในตกแต่งด้วยวัสดุไม้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น
อีกทั้งการดีไซน์บ้านสไตล์ Mid-Century Modern ในช่วงยุคนั้น เริ่มต้นในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ส่งผลให้ตัวบ้านมีรายละเอียด และรูปทรงที่เรียบง่าย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสไตล์ Bauhaus จึงทำให้บ้านสไตล์ Mid-century Modern เน้นความเป็นธรรมชาติ ด้วยรูปทรงเรขาคณิต เพื่อลดทอนองค์ประกอบที่เกินจำเป็นออกไป แต่ยังคงการใช้งานได้จริง ซึ่งแตกต่างกับการออกแบบในช่วงนั้นที่เน้นความหรูหรา และยิ่งใหญ่
อย่างไรก็ตาม หากต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับบ้านสไตล์ Mid-Century Modern ก็สามารถติดตั้งกันสาดเพิ่มเติมได้ เพราะกันสาดถือเป็นตัวช่วยหนึ่งที่มีประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยกันความร้อน และช่วยป้องกันฝนสาดเข้ามาสู่ตัวบ้าน ดังนั้น ในบทความนี้ กันสาดเซ็นเตอร์จะขอแนะนำการเลือกกันสาดให้เหมาะกับบ้านสไตล์ Mid-Century Modern
แจกทริคการแต่งบ้านให้มีคลาส ด้วยสไตล์ Mid-Century Modern
การตกแต่งบ้านด้วยสไตล์ Mid-Century Modern มีใจความสำคัญหลักคือการประยุกต์งานภายนอกเข้าสู่ภายใน ด้วยกระจกบานใหญ่ และงานดีไซน์เรียบง่ายที่เน้นฟังก์ชันการใช้งาน
โดย Mid-Century Modern เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความคลาสสิก หรือยุคเรโทร (Retro) แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสามารถแต่งบ้านได้ตามแนวทางดังนี้
-
โทนสีห้อง
Mid-Century Modern มีโทนสีเอิร์ธโทน เพื่อให้ดูสบายตา ช่วยให้บรรยากาศภายในดูสงบ และผ่อนคลาย อีกทั้งสีเอิร์ธโทน สามารถทำให้เฟอร์นิเจอร์ภายในห้องดูโดดเด่น
เช่น สีเทา สีขาว สีเขียวโอลีฟ และสีฟ้านาวี เป็นต้น หรือหากต้องการเพิ่มความสดใสให้ภายในห้อง ก็สามารถใช้โทนสีเหลืองครีม หรือสีส้มครีม เพื่อไม่ให้สีห้องดูเด่นจนเกินไป แต่ยังคงความมีสีสันไว้
-
การใช้กระจกใส
จากที่กล่าวไปข้างต้น สำหรับบ้านสไตล์ Mid-Century Modern เน้นการสัมผัสกับธรรมชาติมากที่สุด และลดทอนองค์ประกอบที่ไม่จำเป็น โดยใช้กระจกบานใหญ่ หรือกระจกใสแทนที่ผนังบ้านแบบทึบ เพื่อเปิดพื้นที่บ้านให้ดูโปร่งโล่ง สบายตา และช่วยบ้านให้ดูมิติขึ้น
อีกทั้งทำให้ได้รับแสงจากธรรมชาติอย่างเต็มที่ เพื่อลดการใช้ฟ้าภายในบ้าน ทั้งนี้เป็นผลมาจากแนวคิดที่ยึดธรรมชาติเป็นหลัก
-
เฟอร์นิเจอร์
การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ในการตกแต่งสไตล์ Mid-Century Modern เนื่องจาก ในช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จำเป็นให้เฟอร์นิเจอร์ มีการใช้วัสดุที่หลากหลาย เพื่อทดแทนทรัพยากรที่เสียไป เลยต้องหาวัสดุใหม่ ๆ มาใช้แทน ซึ่งนอกจากวัสดุหลัก อย่าง ไม้ หิน ปูน ที่ใช้ในสร้างบ้านสไตล์นี้ ได้เพิ่มวัสดุประเภทสังเคราะห์ เช่น พลาสติก กระจก โลหะ และไม้อัด เป็นต้น
สำหรับโทนสีของเฟอร์นิเจอร์มักมีสีที่ฉูดฉาด และมีสีสันที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของคำว่าคุมโทน ซึ่งหากใครเป็นผู้ชื่นชอบการคุมโทน ก็สามารถเลือกโทนสีร้อน หรือสีโทนเย็นได้ อีกทั้งเฟอร์นิเจอร์จะมีเส้นสายที่ดูเรียบง่าย แต่มีรูปทรงที่แปลกตา โดยเฟอร์นิเจอร์ที่สร้างชื่อในช่วงนั้น เช่น
-
Eames Lounge Armchair
Eames Lounge Armchair เป็นเก้าอี้ที่ถูกออกแบบโดย Charles และ Ray Eames ในค.ศ.1956 ซึ่งเก้าอี้ตัวนี้เป็นการออกแบบที่ผสมผสานระหว่างไม้ เบาะ หนัง และโครงสร้างอะลูมิเนียม โดยเก้าอี้ตัวนี้ถูกออกแบบให้เข้ากับสรีระของมนุษย์ ทำให้เวลานั่งสามารถพิงหลังได้มากกว่าเก้าอี้ในแบบอื่น
-
Eames Plastic Chair
Eames Molded Plastic Chair เป็นอีกหนึ่งเก้าอี้ที่ออกแบบโดย Charles และ Ray Eames ถูกผลิตครั้งแรกในปี ค.ศ.1950 ซึ่งผลิตด้วยการใช้แม่พิมพ์ที่สามารถขึ้นรูปพลาสติกในส่วนที่นั่ง และพนักพิงเป็นชิ้นเดียวกัน โดยมีรูปร่างโค้งมนเพื่อรองรับสรีระร่างกายของมนุษย์
-
Ant Chair
Ant Chair เป็นเก้าอี้ที่ถูกออกแบบโดย Arne Jacob ในปีค.ศ.1952 โดย Arne Jacobsen ถือเป็นผู้บุกเบิกการทำเกาอี้จากพลาสติก ซึ่งสำหรับ Ant Chair เป็นเก้าอี้ที่ทำจากไม้อัด และในดีไซน์แรกถูกออกแบบให้มี 3 ขา ทำจากพลาสติก ซึ่งสามารถวางซ้อนทับกันได้ เพื่อประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ ก่อนพัฒนาให้มี 4 ดั่งในปัจจุบัน
-
PH 5
PH 5 เป็นหนึ่งในผลงานของ Poul Henningsen ในปี 1958 ได้ริเริ่มการออกแบบโคมไฟ 3 แบบ ได้แก่ PH5 ,PH Artichoke และ PH SnowBall โดยชื่อรุ่น PH เป็นตัวย่อจากชื่อของผู้ออกแบบ ซึ่งสำหรับ PH 5 เป็นโคมไฟแขวนเพดาน ที่มีจานโคมออกแบบมาอย่างเรียบง่าย
แต่กลับมีมิติชวนน่าหลงใหลจนเป็นโคมไฟยอดนิยม ที่ทุกบ้านสไตล์ Mid-Century Modern จะต้องมีโคมไฟรุ่นนี้เสมอ ทั้งนี้ยังมีเฟอร์นิเจอร์ไอคอนิค (Iconic) อีกมากมาย ที่สามารถนับมาใช้ตกแต่งให้บ้านสไตล์ Mid-Century Modern
และอย่างสุดท้ายสามารถหา ของตกแต่งเพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดและรูปทรงที่เรียบง่าย เช่นกรอบรูป แจกันดอกไม้ และหมอนอิง เป็นต้น
เทคนิคการเลือกกันสาดให้เหมาะกับบ้านสไตล์ Mid-Century Modern
สำหรับการสร้างบ้านสไตล์ Mid-Century Modern เพื่อให้ตอบโจทย์ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนั้น การติดตั้งกันสาดถือเป็นตัวช่วยสำคัญ ที่ทำให้บ้านนั้นสมบูรณ์
เนื่องจาก สภาพอากาศอากาศในประเทศไทย ค่อนข้างแปรปรวน และอาจทำให้บ้านพังก่อนเวลาอันสมควร โดยกันสาดเซ็นเตอร์ขอแชร์เทคนิคเลือกกันสาดให้เหมาะกับบ้านสไตล์ Mid-Century ดังนี้
-
สำรวจสภาพอากาศ
จากที่กล่าวข้างต้น เนื่องจากประเทศไทย มีสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน และมีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น จึงควรเลือกวัสดุกันสาดที่ ป้องกันความร้อน รังสี UV แรงลม และน้ำฝนได้ดี โดยอาจต้องพิจารณาถึงทิศทางที่ตั้งของบ้าน เพื่อคำนวณช่องทางแสงเข้า เนื่องจาก บ้านสไตล์นี้ให้ความสำคัญกับแสงธรรมชาติ หากติดตั้งกันสาดทึบแสงอาจไม่เหมาะสม
อีกทั้งการเลือกกันสาดให้เข้ากับสไตล์ของบ้าน อาจต้องคำนึกถึงความเรียบง่าย เพราะบ้านสไตล์ Mid-Century Modern มีเอกลักษณ์ที่ความเรียบง่าย แต่ยังคงความทันสมัย โดยสีกันสาดที่ใช้ควรเป็นเอิร์ธโทน เช่นสีขาว สีใส สีเขียว หรือสีน้ำเงิน เป็นต้น
-
เพิ่มพื้นที่ใช้สอย
กันสาด เป็นตัวช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้ภายนอกบ้าน ด้วยการติดตั้งบริเวณข้างบ้าน หรือหลังบ้าน เพราะนอกจากความสวยงามแล้ว จำเป็นต้องใช้งานได้จริงด้วย โดยบ้านสไตล์ Mid-Century Modern มักมีการต่อเติมส่วนต่าง ๆ ของบ้านออกมา อย่าง ชานระเบียง เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ดังนั้น การติดตั้งกันสาดเพิ่มเติม ช่วยทำให้สามารถใช้พื้นที่ดังกล่าวได้ตลอดเวลา
ทั้งในช่วงที่มีแสงแดดจ้า และในช่วงที่ฝนตก ทั้งนี้กันสาดที่เหมาะสมกับการติดตั้งบ้านสไตล์ Mid-Century Modern จึงควรเป็นกันสาด Polycarbonate เนื่องจาก สามารถทนแดด ทนฝน และกันความร้อนได้ดี แนะนำกันสาดแอมเกรซ ผลิตจาก Virgin Polycarbonate ที่มีความใส สวยงามเหมือนระบบแผ่นกระจก Glazing System
พร้อมการออกแบบที่หรูหรา ทันสมัย แข็งแรง และใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งยังทนทาน ไม่เปราะแตกง่าย คุ้มค่ากว่าเมื่อเทียบกับระบบกระจกทั่วไป นอกจากนี้ ยังป้องกันการรั่วซึม เพราะติดตั้งด้วยระบบ Standing Seam
สำหรับที่ใครกำลังมองหาศูนย์บริการติดตั้งกันสาด ที่บริการแบบครบวงจร หรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับกันสาด ก็สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line:@kansadcenter หรือโทร 02-312-4300, 02-103-4490, 089-766-9055